เช็กลิสต์ คุณเป็น Digital Marketing หรือไม่

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ธุรกิจ SME และ Startup รวมไปถึงแบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียง ต่างพากันทำการตลาดออนไลน์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ทำให้สายงาน Digital Marketing เป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน หลายคนจึงหันมาสนใจและอยากที่จะเปลี่ยนสายงานมาทำด้านนี้ แต่รู้หรือไม่ว่าการเป็นดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งนั้นต้องมีทักษะหรือคุณสมบัติด้านใด และเครื่องมือดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่ควรรู้มีอะไรบ้าง วันนี้เรามาหาคำตอบเหล่านี้ไปด้วยกัน พร้อมเช็กลิสต์ว่าคุณมีความพร้อมที่จะทำงานในสายนี้มากน้อยแค่ไหน พร้อมแล้วไปดูกันเลย!

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งคืองานอะไร

Digital Marketing คือ การโปรโมตสินค้า บริการ หรือแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย อีเมล และเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการรับรู้ เพิ่มยอดขาย หรือสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า บทบาทและหน้าที่ในดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมีหลากหลายและครอบคลุมหลายด้าน เช่น การทำ SEO หรือ Search Engine Optimization เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ให้ติดอันดับสูงในผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน , การยิงแอดบน Google หรือตามแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Instagram , TikTok และ X หรือแม้กระทั่งการทำคอนเทนต์เพื่อสร้างการรับรู้ รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าชม

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเป็นงานที่ต้องผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการรับรู้ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค เหมาะสำหรับคนที่ชอบความท้าทาย อัพเดทความรู้อยู่เสมอ เท่าทันเทรนด์ปัจจุบัน และสนใจด้านเทคโนโลยี หากคุณเป็นผู้เริ่มต้นหรือมีความสนใจในการเปลี่ยนสายงานมาทำด้านนี้ เริ่มต้นจากการศึกษาและฝึกฝนทักษะที่เกี่ยวข้อง หรือทางลัดที่จะทำให้คุณทำงานในสายนี้ได้ง่ายขึ้น คือ การลงเรียนคอร์สการตลาดออนไลน์

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งต้องมีทักษะด้านใด

1. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

– การคิดไอเดียใหม่: สร้างแนวคิดใหม่ ๆ สำหรับแคมเปญการตลาด เช่น ออกแบบกราฟิกที่ไม่ซ้ำใคร หรือการพัฒนาแคมเปญที่มีคอนเทนต์เฉพาะตัว ไม่มีใครที่สามารถลอกเลียนแบบได้ 
– การคิดนอกกรอบ: หาวิธีการใหม่ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือแนวทางที่ไม่เคยใช้มาก่อน
– การสร้างคอนเทนต์: ผลิตเนื้อหาคอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจ เช่น บทความ , วิดีโอ , หรือกราฟิกที่ดึงดูดความสนใจ

2. การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking)

– การวิเคราะห์ข้อมูล: การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Google Analytics เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้และประสิทธิภาพของแคมเปญ
– การตีความข้อมูล: การแปลผลลัพธ์และแนวโน้มจากข้อมูล เช่น การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในอัตราการเข้าชมเว็บไซต์หรืออัตราการ
– แปลงการวางกลยุทธ์: การใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ในการวางแผนและปรับกลยุทธ์การตลาด เช่น การปรับปรุงคอนเทนต์หรือกลยุทธ์โฆษณา

3. การแก้ปัญหา (Problem Solving)

– การระบุปัญหา: การค้นหาหรือระบุปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การที่แคมเปญการตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเกิดจากอะไร
– การหาวิธีการแก้ไข: คิดค้นวิธีการและแนวทางใหม่ ๆ เพื่อจัดการกับปัญหา เช่น การทดลองแนวทางใหม่หรือปรับกลยุทธ์
– การประเมินผลลัพธ์: การวัดผลของการแก้ไขปัญหาเพื่อให้แน่ใจว่าวิธีที่ใช้มีประสิทธิภาพ

4. การสื่อสาร (Communication Skills)

– การสื่อสารไอเดีย: การนำเสนอและอธิบายแนวคิดหรือแผนการตลาดให้กับทีมและลูกค้าอย่างชัดเจน
– การเขียนเนื้อหา: การสร้างเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดข้อความได้อย่างชัดเจน เห็นภาพตรงกัน เข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพ
– การสื่อสารกับทีม: การประสานงานและการทำงานร่วมกับสมาชิกในทีมเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนเข้าใจเป้าหมายและกลยุทธ์เดียวกัน

5. การจัดการเวลา (Time Management)

– การจัดลำดับความสำคัญ: ลำดับความสำคัญของงานและการมอบหมายงานให้กับทีม
– การวางแผน: การสร้างแผนงานที่ชัดเจนและการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว
– การติดตามความก้าวหน้า: การติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามกำหนดเวลา

6. การทำงานร่วมกัน (Teamwork)

– การทำงานร่วมกับทีม: การร่วมมือกับสมาชิกในทีมที่มีทักษะและความรู้ที่หลากหลาย เช่น นักออกแบบ , นักพัฒนาเว็บ , หรือผู้จัดการ
– การสนับสนุนทีม: การช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงานเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ดี
– การแบ่งปันข้อมูล: การสื่อสารข้อมูลและการอัปเดตสถานะของงานให้กับสมาชิกในทีม

7. การเรียนรู้และปรับตัว (Learning Agility)

– การติดตามเทรนด์ใหม่: เรียนรู้และติดตามแนวโน้มใหม่ ๆ ในวงการดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เช่น เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังเป็นเทรนด์
– การปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง: ปรับกลยุทธ์และเทคนิคตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดและเทคโนโลยี
– การเรียนรู้จากข้อผิดพลาด: วิเคราะห์ข้อผิดพลาดและการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์และปิดช่องรอบรั่วที่เคยเกิดขึ้น

8. ความเข้าใจลูกค้า (Customer Insight)

– การศึกษาและวิเคราะห์ลูกค้า: วิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การใช้ข้อมูลจากการสำรวจ โพลความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการสินค้า/บริการในรูปแบบไหน เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบให้ตรงกับความต้องการ
– การสร้างประสบการณ์ที่ตอบโจทย์: ออกแบบแคมเปญที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสร้างประสบการณ์ที่ดี
– การปรับกลยุทธ์ตามฟีดแบ็ค: ใช้ความคิดเห็นและฟีดแบ็คจากลูกค้าในการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด

9. การพัฒนาแบรนด์ (Brand Development)

– การสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์: สร้างและรักษาเอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของแบรนด์ เช่น การออกแบบโลโก้และการสร้างข้อความที่สอดคล้อง
– การวางกลยุทธ์แบรนด์: วางแผนและการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างแบรนด์และเพิ่มการรับรู้
– การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า: สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนกับลูกค้าผ่านการสื่อสารและบริการที่ดี

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งทำอะไรบ้าง

1. Content Creation

– เขียนบทความหรือสร้างคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ ความบันเทิง หรือแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย
– สร้างวิดีโอที่น่าสนใจเพื่อสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์ สาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือให้ข้อมูลที่มีประโยชน์
– ใช้กราฟิกเพื่ออธิบายข้อมูลซับซ้อนให้ง่ายต่อการเข้าใจ
– สร้างคอนเทนต์ที่สั้น กระชับ และน่าสนใจสำหรับแชร์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของโซเชียลมีเดีย

2. Social Media Marketing

– ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
– การจัดการบัญชีโซเชียลมีเดีย ดูแลและโพสต์เนื้อหาบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook , Instagram , TikTok และ X เป็นต้สร้าง
– แคมเปญโซเชียลมีเดีย วางแผนและดำเนินการแคมเปญเพื่อเพิ่มการรับรู้ การมีส่วนร่วม และการขาย
– การมีส่วนร่วมกับผู้ติดตาม ตอบคำถามและความคิดเห็น สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจกับลูกค้า

3. Email Marketing

– ออกแบบและเขียนอีเมล สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจและมีคุณค่าสำหรับผู้รับ
– ส่งอีเมลที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องและมีคุณค่าเพื่อสื่อสารกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย
– วิเคราะห์ผลตรวจสอบอัตราการเปิด อัตราการคลิก และการตอบกลับ เพื่อปรับปรุงแคมเปญในอนาคต

4. Search Engine Optimization (SEO)

– ค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Keyword Research) ผู้ใช้นิยมเสิร์ชหรือค้นหาเกี่ยวกับอะไร คำไหนบ้าง เพื่อนำมาปรับใช้กับการทำ SEO
– ปรับปรุงเนื้อหาและโครงสร้างของเว็บไซต์ (On-Page) เพื่อให้เหมาะกับคำที่ผู้ใช้งานจะเสิร์ชหรือค้นหา
– สร้างลิงก์ (Link Building) สร้างลิงก์จากเว็บไซต์อื่นอๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและอันดับการค้นหา
– วิเคราะห์และปรับปรุง (SEO Audits) ตรวจสอบและปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อแก้ไขปัญหา SEO เพื่อให้ติดอันดับในผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน

5. Ads Optimization

– วางแผนแคมเปญโฆษณา เช่น กำหนดเป้าหมาย งบประมาณ และกลยุทธ์สำหรับการโฆษณา
– ออกแบบและสร้างโฆษณาที่น่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
– การจัดการโฆษณา (Ads Management) จัดการแคมเปญโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Google Ads , Facebook Ads เป็นต้น
– วิเคราะห์และติดตามประสิทธิภาพของโฆษณา เพื่อปรับปรุงแคมเปญ

6. Analytics and Reporting

– Analytics and Reporting
– ติดตามและวัดผลของการตลาดดิจิทัลเพื่อปรับปรุงแคมเปญและกลยุทธ์อยู่เสมอ
– วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาปัญหาที่เกิดขึ้นและโอกาสหรือช่องทางที่จะเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ
– สร้างรายงาน (Reporting) เพื่อสรุปผลและนำเสนอข้อมูลให้กับทีมและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

7. Retargeting and Remarketing

– ตั้งค่าและสร้างแคมเปญ Retargeting เพื่อแสดงโฆษณาให้กับผู้ที่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์
– ใช้เครื่องมือการตลาดออนไลน์ เช่น Google Ads , Facebook Ads เพื่อสร้างและจัดการแคมเปญ
– นำผู้ที่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือผู้ที่เคยมี Engagement กับแบรนด์ให้เห็นคอนเทนต์หรือโฆษณาอีกครั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสจากผู้ชมเป็นลูกค้า
– ติดตามและวิเคราะห์แคมเปญ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพ

8. Customer Relationship Management (CRM)

– ใช้ซอฟต์แวร์หรือเครื่องมือ CRM เช่น Salesforce , HubSpot และ Zoho เพื่อจัดการข้อมูลลูกค้าและการสื่อสาร
– วางแผนและดำเนินการและสร้างแคมเปญ CRM เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของลูกค้า
– วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อปรับปรุงการสื่อสารและการบริการ


ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเรียน/ทำงานอะไร

อยากทำงานดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งไม่จำเป็นต้องจบตรงสายหรือทำงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง คุณสามารถเปลี่ยนสายงานมาทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งได้ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็น สิ่งสำคัญ คือ ความมุ่งมั่นและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเป็นสายงานที่เปิดกว้างสำหรับคนที่พร้อมพัฒนาตัวเองและมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด

advanced-course

หากคุณอยากมีความรู้และเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง IDM Council ได้เปิดคอร์สเรียนการตลาดออนไลน์ สอนโดยอาจารย์ที่ได้การรับรองมาตรฐานความรู้จากสถาบันระดับโลก มีประสบการณ์ตรง คอร์สเดียวจบ ครบทุกทักษะ ทางลัดสู่นักการตลาดมืออาชีพ

Strategic

อีกหนึ่งคอร์สที่สำหรับผู้ที่อยาก Growth Mindset คือ คอร์สเรียนวางกลยุทธ์การตลาดและการบริหาร คอร์สนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเติบโตและมีมุมมองเดียวกันกับเจ้าของธุรกิจ เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองและมีประสบการณ์ตรง วางกลยุทธ์สร้างจุดเปลี่ยน สู่จุดยืนในโลกธุรกิจ

สรุป

การทำงานในสายการตลาดออนไลน์ ต้องเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ รวมไปถึงต้องเกาะทุกกระแสเทรนด์ให้ทัน หากมีคุณสมบัติและทักษะหรือรู้จักเครื่องมือดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งอย่างครบถ้วนแล้ว นั่นเป็นสัญญาณที่ดีที่จะบอกว่าคุณพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่โลกของ Digital Marketing!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

Save