รู้ไว้ก่อนโดนฟ้อง! กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเกินจริง
รู้ไว้ก่อนโดนฟ้อง! กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเกินจริง

 รู้ไว้ก่อนโดนฟ้อง! กฎหมายการโฆษณาเกินจริง

ในยุคของการสื่อสารแบบดิจิทัลและสังคมออนไลน์ที่เติบโตขึ้นทุกวัน การเข้าใจกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำการตลาดในยุคปัจจุบัน เพื่อให้คุณสามารถแสดงความคิดเห็นและสร้างแคมเปญที่ถูกต้องตามพ.ร.บ.ขายของออนไลน์ โดยไม่ทำให้ธุรกิจของคุณผิดหรือเสี่ยงต่อกฎหมายและผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นประโยชน์สําหรับนักการตลาด ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจในการทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำโฆษณาเกินจริง

digital law

บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคําโฆษณาเกินจริง โดยบอกถึงความสำคัญของกฎหมายและความคุ้มครองของผู้บริโภค รวมถึงวิธีที่คุณสามารถปรับตัวให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายพ.ร.บ.ขายของออนไลน์

โฆษณาเกินจริงมีความผิดไหม ?

การขายของออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันทำให้ผู้บริโภคมีความหลากหลายในการเลือกซื้อที่เพิ่มขึ้น แต่ก็มักพ่วงมาด้วยการโฆษณาเกินจริงของร้านค้าออนไลน์หรือผู้ที่นำสินค้าไปรีวิว และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น

ปัจจุบันมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อไม่ให้พ่อค้าแม่ขายที่มีการขายของออนไลน์โดยใช้คําโฆษณาเกินจริง เพื่อเอาเปรียบหรือหลอกลวงต่อผู้บริโภค หากถามว่าการทำโฆษณาที่เกินจริงมีความผิดไหม แน่นอนว่าต้องมีความผิด แต่จะได้รับโทษปรับหรือจำคุกที่หนักเบาขึ้นอยู่กับกฎหมายและพ.ร.บ.ที่คุณทำผิด

ข้อกฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลง

ในอดีตมีการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒ (มาตรา ๒๒) และปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงฉบับนี้ขึ้น เนื่องจากบทบัญญัติบางประการยังไม่เหมาะสมกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนปรับอัตราโทษให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติขึ้น ซึ่งพระราชบัญญัติใหม่ที่มีการใช้ในปัจจุบันนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒”

digital law

มาตรา ๖๒ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มีโทษปรับสถานเดียว หรือเป็นความผิดที่มีโทษหรือมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้และมีอำนาจมอบหมายให้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการ พนักงานสอบสวน หนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหนักงานท้องถิ่น ดำเนินการเปรียบเทียบได้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบหรือเงื่อนไขประการใด ๆ ให้แก่ผู้ได้รับมอบหมายตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้

 กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเกินจริง

digital law

การละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเกินจริงอาจส่งผลให้บริษัทหรือบุคคลที่มีส่วนรับผิดชอบในการโฆษณาต้องเสียค่าเสียหายหรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้หน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องก็อาจสั่งให้หยุดการโฆษณาที่ละเมิดกฎหมายและส่งความผิดนี้ไปยังหน่วยงานทางอาญาเพื่อสอบสวนและดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยพ.ร.บ.ที่มีความเกี่ยวข้องกับโฆษณาที่มีความเกินจริงมีดังนี้

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา ๒๒ ประกอบด้วย ม.๔๗
มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากกระทำผิดซ้ำอีกมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา ๖๒
ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มีโทษปรับหรือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 
พ.ร.บ. ว่าด้วยการทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๔ ฐาน “นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์”
มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายอาญามาตรา ๓๔๑ ประกอบ มาตรา ๓๔๓ 
มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากเป็นสินค้าจำพวกอาหารเสริมหรือเครื่องสำอาง มีความผิดตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และ พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘

คำที่ควรเลี่ยงในการใช้โฆษณา 

digital law

1. ห้ามระบุข้อความประเภท สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยเฉพาะเรื่องของราคาและตัวสินค้า

ตัวอย่างข้อความ
– บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาและเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
– ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า
– ขอสงวนสิทธิ์ปัดเศษส่วนลดขึ้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
– ภาพสินค้าเป็นเพียงตัวอย่างอาจไม่ตรงกับรุ่นที่จัดโปรโมชั่น

2. ห้ามใช้ข้อความที่เน้นเฉพาะในเรื่องความเชื่อส่วนบุคคล หรือเจาะกลุ่มคนที่กำลังมีปัญหาและความทุกข์ ต้องการที่พึ่งทางใจ โดยเรียกกลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบาง เพราะอาจหลงเชื่อได้ง่าย

ตัวอย่างข้อความ
– เห็นผลทันทีหลังใช้
– เห็นผลภายใน 7 วัน
– รับทำพิธีเรียกคนรักกลับคืนมา
– รับแก้เคราะห์ แก้กรรม
– นั่งสมาธิดูอดีตชาติ

3.ข้อความที่เกี่ยวข้องกับการประกันหลังการขายต่าง ๆ หากมีความจำเป็นต้องเขียนการประกันหลังการขาย ต้องระบุเงื่อนไขให้ชัดเจน ครบถ้วนและไม่เกินจริง

ตัวอย่างข้อความ
– ไม่ถูกใจยินดีคืนเงิน
– ไม่เห็นผลยินดีคืนเงิน
– รับประกันความพึงพอใจ
– หากสินค้าเกิดความเสียหายจากการขนส่ง ยินดีเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้ทันที

4.ใช้ข้อความที่มีการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หากต้องอ้างอิงผลวิจัยหรือสถิติต่างๆ จำเป็นต้องมีข้อมูลยืนยันที่ชัดเจนและหากถูกเรียกตรวจสอบข้อความหรือโฆษณา ต้องรวบรวมหลักฐานภายใน 15 วัน

ตัวอย่างข้อความ
– มีเพียงที่เดียวในประเทศ
– ยอดขายอันดับ 1
– เห็นผล 100%
– ผ่านมาตรฐานจากสถาบันการการทดสอบจากต่างประเทศ

หากท่านใดที่กำลังมองหาคอร์สเรียนกฎหมายทาง Digital ที่ควรรู้ในการทำธุรกิตออนไลน์หรือช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อธุรกิจและข้อกฎหมายหรือพ.ร.บ. สามารถปรึกษาหรือสอบถามได้ที่ IDM Council โดยคอร์สเรียน “Digital Law” เป็นคอร์สที่ออกแบบมาเพื่อสอนและเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรทางกฎหมายในประเทศของดิจิทัลและการทำธุรกิจออนไลน์ ในคอร์สนี้คุณจะได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการและหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ลิขสิทธิ์ทางปัญญา การค้าออนไลน์ และอื่น ๆ

สรุป

กฎหมายการโฆษณาเกินจริงเป็นเรื่องที่ควรรู้และต้องระมัดระวังอย่างมากในทางกฎหมายและธุรกิจ เพราะการละเมิดกฎหมายในการทำโฆษณาอาจทำให้ธุรกิจเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือความน่าเชื่อถือลดลง และคุณเองก็ต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ และต้องระมัดระวังที่จะไม่ละเมิดลิขสิทธิต่าง ๆ รวมถึงควรให้ข้อมูลที่สมเหตุสมผลที่สามารถยืนยันได้เช่นกัน