อยากเปลี่ยนสายงาน
อยากเปลี่ยนสายงาน

อยากเปลี่ยนสายงาน อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

หลายคนเมื่อทำงานไปหลายปีมักมีความคิดที่อยากจะหางานใหม่หรืออยากเปลี่ยนสายงาน เพราะงานประจำที่ทำอยู่ไม่มีความท้าทายหรือมีความอิ่มตัวกับงาน ซึ่งคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเริ่มมองหางาน Digital Marketing เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุผลว่าโซเชียลมีเดียมีบทบาทมากขึ้นกับคนในปัจจุบันและสายงาน Digital Marketing ให้ค่าตอบแทนสูง ที่สำคัญคือทำงานไม่ตรงสายก็สามารถทำงานในสายงานนี้ได้ จากกระแสผู้คนในโซเชียลมีเดียเริ่มทำการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้น ทำให้หลายแบรนด์เริ่มหันมาทำการตลาดออนไลน์เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้สายงาน Digital Marketing เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในหลายๆองค์กร

อยากเปลี่ยนสายงาน

การเปลี่ยนสายงานเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องพบเจอเมื่อต้องตัดสินใจในชีวิตอาชีพของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความพึงพอใจในงานปัจจุบัน ความสุขในการทำงาน หรือการพัฒนาอาชีพต่อไป การเปลี่ยนสายงานอาจเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนแต่ก็สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนและการพิจารณาที่ถูกต้อง ในบทความนี้เราจะสำรวจขั้นตอนและเหตุผลที่ควรพิจารณาเมื่อคุณมีแผนที่จะเปลี่ยนสายงาน

10 STEP ในการเปลี่ยนสายงาน

1. ทบทวนตัวเองว่า “อยากเปลี่ยนสายงานเพราะอะไร”

การเปลี่ยนสายงานเหมือนเป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ซึ่งก่อนที่คุณจะลาออกควรถามตัวเองให้ดีว่าทำไมถึงอยากเปลี่ยนสายงาน สาเหตุที่อยากเปลี่ยนสายงานคืออะไร และเมื่อคุณตอบคำถามเหล่านี้ได้แล้ว คุณก็สามารถนำไปวางแผนในการการเปลี่ยนสายอาชีพต่อได้ ซึ่งหากว่าคุณเพียงแค่อยากเปลี่ยนสังคมหรืออยากย้ายสถานที่ทำงาน นั่นก็หมายความว่าคุณไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสายงาน

2. ตั้งคำถามกับตัวเอง

ก่อนที่คุณจะเปลี่ยนอาชีพหรือสายงานให้ลองถาม-ตอบ ด้วยคำถามที่ทางเราแนะนำดูเพราะจะช่วยจำกัดตัวเลือกสายอาชีพของคุณให้แคบลงและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
ลองถามตัวคุณเองว่า :
– คุณต้องการอะไรจากสายอาชีพนี้ ?
– ความชอบของคุณคืออะไร ?
– ความสนใจของคุณคืออะไร?
– จุดแข็งและความถนัดของคุณคืออะไร?
เมื่อตอบคำถามเหล่านี้แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องทบทวนเป้าหมายในสายอาชีพของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายจะสอดคล้องกับความสนใจหรือความชอบของคุณ

3. สำรวจความชอบหรือความสนใจ

หากคุณต้องการเปลี่ยนสายงาน คุณควรสำรวจความชอบหรือความสนใจว่าตัวคุณมีความชอบอะไรในสายงานนี้ หรือตัวคุณมีความสนใจในด้านไหนบ้าง เพื่อที่คุณจะได้ทำงานในสายที่ชอบและงานที่ใช่สำหรับตัวคุณเอง เพราะไม่มีใครที่อยากจะย้ายงานหรือเปลี่ยนสายงานบ่อยๆ ดังนั้นก่อนหางานคุณควรสำรวจความชอบของตัวเองเสียก่อนเพราะมันสามารถช่วยให้คุณรู้เส้นทางในสายอาชีพใหม่ของคุณได้

4. วิเคราะห์ทักษะในสายงานเดิม

ทักษะในการทำงานของคุณก่อนหน้านี้สามารถช่วยเป็นแนวทางในการเลือกสายอาชีพของคุณได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ให้ลองวิเคราะห์ทักษะในสายงานเก่าของคุณในด้านใดบ้างที่สามารถใช้ร่วมกับสายงานใหม่ได้ การวิเคราะห์นี้สามารถช่วยให้คุณค้นหาสายอาชีพที่ตรงกับประสบการณ์ของคุณได้ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ลำบากในการเริ่มต้นใหม่ในสายงานที่คุณเลือก

5. หาข้อมูลสายอาชีพที่สนใจ

เมื่อแน่ใจแล้วว่าคุณมีความต้องการที่อยากจะเปลี่ยนสายงาน ให้คุณทำการหาข้อมูลเกี่ยวกับสายอาชีพนั้นว่าความรับผิดชอบงานมีอะไรบ้าง ต้องใช้ทักษะด้านใด มีความก้าวหน้าไหม เป็นที่ต้องการของตลาดหรือเปล่าและฐานเงินเดือนที่คุณควรได้รับเท่าไหร่ เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่าทักษะในสายงานเดิมด้านใดบ้างที่นำมาปรับใช้ได้ ซึ่งถ้าให้แนะนำสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุดคงหนีไม่พ้น Digital Marketing ไม่เพียงแต่เป็นที่ต้องการของตลาดเท่านั้นแต่สายงานนี้ยังรับสำหรับผู้ที่ทำงานไม่ตรงสายอีกด้วย

6. ระบุ Core Values ให้ชัดเจน

การระบุ Core Values หรือค่านิยมของคุณให้ชัดเจนไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณมองหางานหรือสายอาชีพที่มั่นคงได้ แต่ยังทำให้คุณมองหาองค์กรที่มี Core Values ได้ตรงกับคุณ ซึ่งนั่นส่งผลดีกับคุณ เพราะจะทำให้คุณทำงานในสายงานหรือองค์กรนั้นได้นานมากยิ่งขึ้น

7. พิจารณาความต้องการเงินเดือนของคุณ

เส้นทางในสายอาชีพที่แตกต่างกันสามารถมีรายได้ที่หลากหลาย ซึ่งศักยภาพหรือทักษะที่คุณมี มันทำให้คุณสามารถเรียกเงินเดือนตามที่คุณต้องการได้ แม้ว่าเงินเดือนไม่ได้รับประกันว่างานจะน่าดึงดูดและน่าพอใจ แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อวางแผนในสายอาชีพของคุณ

8. พาตัวเองไปอยู่ใน Community ของสายงานที่อยากทำ

เมื่อเรามีเป้าหมายในสายงานที่อยากทำแล้ว ที่นี้ก็พาตัวเองเข้าไปอยู่ในสังคมของสายงานนั้น เช่น อยากทำงานสาย Digital Marketing คุณอาจจะเข้ากลุ่ม Digital Marketing ใน Facebook หรือกดติดตามเพจการตลาด เพื่อพาตัวเองเข้าไปอยู่ในที่ที่ผู้คนในสายงานนั้นอยู่ คุณสามารถปรึกษา / สอบถาม ผู้คนที่อยู่ในกลุ่มนั้นได้ เชื่อว่าจะได้คำตอบที่คุณต้องการแน่นอน

9. เรียนรู้และเพิ่มทักษะใหม่

บางครั้งทักษะจากงานเก่าของคุณ อาจจะใช้ไม่ได้กับสายงานใหม่เสมอไป เพราะฉะนั้นคุณต้องไปเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะหรือต่อยอดจากทักษะเดิมที่มีอยู่เพื่อให้เหมาะกับสายงานใหม่ ซึ่งปัจจุบันการหาความรู้นั้นไม่ใช่เรื่องยาก มีทั้งในอินเทอร์เน็ตหรือคอร์สเรียนระยะสั้นและระยะยาว

หากใครต้องการทำงานสาย Digital Marketing แล้วพบว่าตนเองไม่มีความรู้หรือทักษะในด้านนี้ ให้ลองหาคอร์สเรียน Digital Marketing ที่สอนแบบออฟไลน์ เหตุผลที่ต้องเรียนแบบออฟไลน์เพราะคุณจะเข้าใจได้มากขึ้นและได้สอบถามอาจารย์ผู้สอนโดยตรง ทำให้คุณได้รับความรู้ความเข้าใจที่มากกว่าการเรียนแบบออนไลน์ ซึ่ง IDM Council ได้เปิดคอร์ส Digital Marketing ที่มีการเรียนการสอนแบบออฟไลน์และออนไลน์ สอนจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทำงานจากสาย Digital Marketing โดยตรง อีกทั้งยังได้รับใบ Certificate เพื่อไปต่อยอดอัพเงินเดือนและมีโอกาสสูงในการเข้าทำงานในสายงานนี้มากขึ้น

10. ปรับเรซูเม่ / CV ให้เหมาะกับสายงานใหม่

ท้ายที่สุด เมื่อคุณค้นพบสายงานที่ใช่และเพิ่มความรู้แล้ว อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการปรับเรซูเม่ หรือ CV คุณควรดึงจุดเด่นและทักษะให้สอดคล้องกับสายงานใหม่ที่จะทำ เพื่อให้เรซูเม่ของคุณไปเตะตา HR หรือโดดเด่นกว่าแคนดิเดตท่านอื่น เพียงเท่านี้การย้ายสายงานก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปและทำให้คุณประสบความสำเร็จในการย้ายสายงานอีกด้วย 

สรุป

การเปลี่ยนสายงานอาจเป็นการตัดสินใจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในชีวิต หลายคนที่กำลังย้ายสายงานมักกังวลในเรื่องของการทำงานไม่ตรงสาย ซึ่งสายงาน Digital Marketing กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน รับทั้งผู้คนที่จบไม่ตรงสายหรือทำงานไม่ตรงสาย ซึ่งมันอาจเป็นเส้นทางที่ดีในการเลือกและทำให้ชีวิตคุณมีความสุขมากขึ้นในระยะยาว แต่การทำความเข้าใจและการเตรียมตัวให้พร้อมก็สามารถช่วยให้การเปลี่ยนสายงานของคุณประสบความสำเร็จมากขึ้น