Influencer Marketing เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายแบบไหน

ในยุคปัจจุบันที่โลกของการตลาดดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ธุรกิจหรือแบรนด์ต้องปรับตัวและหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากที่ใช้การโฆษณาในปัจจุบัน คือการใช้บุคคลที่มีอิทธิพลหรือ Influencer Marketing 

ปัจจุบันอินฟลูเอนเซอร์ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ดาราหรือคนดัง แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในโลกออนไลน์ เช่น บล็อกเกอร์ ยูทูบเบอร์ ไลฟ์สไตล์ครีเอเตอร์ เป็นต้น พวกเขาเหล่านี้ถือเป็น “คนกลาง” ที่สามารถเชื่อมต่อแบรนด์ไปสู่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างตรงจุด และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

Influencer Marketing คืออะไร

Influencer Marketing คือกลยุทธ์การตลาดรูปแบบหนึ่งที่ใช้บุคคลที่มีอิทธิพลในสังคมออนไลน์หรือที่เรียกว่า “อินฟลูเอนเซอร์” ในการสื่อสารและส่งเสริมสินค้าหรือบริการไปยังกลุ่มผู้ติดตามของพวกเขา จุดเด่นคือความน่าเชื่อถือและความใกล้ชิดระหว่างอินฟลูเอนเซอร์กับกลุ่มผู้ติดตาม ทำให้ข้อมูลที่ถูกส่งต่อไปนั้นมีน้ำหนักและเป็นที่น่าสนใจมากกว่าการโฆษณาแบบเดิม ส่งผลให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

วิธีการทำงานของการตลาดรูปแบบนี้ คือแบรนด์จะทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีความน่าเชื่อถือและมีกลุ่มผู้ติดตามที่มีความสนใจในสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกับของแบรนด์ อินฟลูเอนเซอร์จะทำการสื่อสารหรือการโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย บล็อก หรือยูทูบ โดยอาจจะเป็นการรีวิวสินค้า แชร์ประสบการณ์การใช้งาน หรือแม้แต่การจัดกิจกรรมร่วมสนุก

Influence VS KOL แตกต่างกันอย่างไร

อินฟลูเอนเซอร์ คือบุคคลที่มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ ซึ่งมีผู้ติดตามจำนวนมากในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook , Instagram , YouTube เป็นต้น โดยจะมีผู้ติดตามที่สนใจในเนื้อหาและไลฟ์สไตล์ของพวกเขา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่พูดถึง แต่มีความน่าเชื่อถือจากกลุ่มผู้ติดตาม

KOL (Key Opinion Leader) คือบุคคลที่เป็นผู้นำความคิดหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับในสาขาหรือหัวข้อเฉพาะทาง มักจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ หรือผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมหรือหัวข้อนั้น ๆ เป็นอย่างดี 

ดังนั้น อินฟลูเอนเซอร์เหมาะสำหรับการสร้างการรับรู้และการจดจำแบรนด์ในกลุ่มวงกว้าง ในขณะที่ KOL มักจะเหมาะสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือด้านสินค้าหรือบริการเฉพาะทาง

 ความสำคัญของอินฟลูเอนเซอร์

1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
อินฟลูเอนเซอร์มีฐานผู้ติดตามที่ใหญ่และมีความสนใจในเนื้อหาที่อินฟลูเอนเซอร์นำเสนอ จึงเป็นช่องทางที่ดีในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง
2. สร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ
เนื่องจากผู้ติดตามมองว่าอินฟลูเอนเซอร์มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่กำลังนำเสนอ การรีวิวหรือแนะนำสินค้าจึงมีน้ำหนักและสร้างความน่าเชื่อถือมากกว่าการโฆษณาจากแบรนด์เอง
3. กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า
อินฟลูเอนเซอร์สามารถสร้างแรงบันดาลใจและสร้างความรู้สึกอยากได้สินค้าให้กับผู้ติดตาม จึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า
4. การสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืน
อินฟลูเอนเซอร์ไม่ได้มีหน้าที่แค่โปรโมทสินค้า แต่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค เพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมภาพลักษณ์แบรนด์ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
5. วัดผลได้ง่าย
การวัดผลจากแคมเปญอินฟลูเอนเซอร์ทำได้ง่ายกว่าการตลาดรูปแบบอื่น โดยดูจากอัตราการเข้าชม การมีส่วนร่วม จำนวนการแชร์ รวมถึงยอดขายที่เพิ่มขึ้น

ประเภทของอินฟลูเอนเซอร์มีอะไรบ้าง

1. Nano Influencer (ผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน)
Nano Influencer คืออินฟลูเอนเซอร์ระดับเล็กที่มีผู้ติดตามตั้งแต่หลักพันจนไปถึงหลักหมื่น เป็นที่รู้จักเฉพาะกลุ่มไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีความสนิทและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดตามเป็นอย่างดี มีอิทธิพลสูงต่อกลุ่มผู้ติดตาม
2. Micro Influencer (ผู้ติดตาม 10,000 – 100,000 คน) 
Micro Influencer คืออินฟลูเอนเซอร์ระดับปานกลางที่มีผู้ติดตามตั้งแต่หลักหมื่นจนไปถึงหลักแสน มีความใกล้ชิดกับผู้ติดตาม มักเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความสนใจเฉพาะด้าน เช่น เทคโนโลยี กีฬา ความงาม เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างอยู่ในระดับปานกลาง
3. Macro Influencer (ผู้ติดตาม 100,000 – 1,000,000 คน)
Macro Influencer คืออินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อเสียงมีผู้ติดตามตั้งแต่หลักแสนจนไปถึงหลักล้าน ได้รับความนิยมและรู้จักเป็นวงกว้าง เป็นบุคคลสาธารณะ เซเลบริตี้ หรือดารา มีอิทธิพลต่อกลุ่มผู้ติดตามขนาดใหญ่ แต่ขาดความใกล้ชิดและการโต้ตอบกับผู้ติดตาม
4. Mega Influencer (ผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป)
Mega Influencer คืออินฟลูเอนเซอร์ระดับแนวหน้าที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมสูงสุด เป็นดารา นักร้อง นักแสดงชื่อดัง หรือผู้มีอิทธิพลระดับโลก มีผู้ติดตามจำนวนมากหรือตั้งแต่หลักล้านขึ้นไป ค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างสูง และการโต้ตอบกับผู้ติดตามมีจำกัด

เลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะกับแบรนด์

1. ความเหมาะสมของเนื้อหา (Content Relevancy)
เนื้อหาที่อินฟลูเอนเซอร์นำเสนอควรมีความสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์หรือไม่ เช่น แบรนด์เครื่องสำอางควรเลือกอินฟลูเอนเซอร์ด้านความงาม เครื่องแต่งกาย แฟชั่น หรือไลฟ์สไตล์ เป็นต้น 
เนื้อหาควรดึงดูดและตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย สร้างแรงบันดาลใจให้อยากลองใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น
มีการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ มีคุณภาพ และน่าสนใจอย่างสม่ำเสมอ
2. ความน่าเชื่อถือ (Credibility)
อินฟลูเอนเซอร์ควรมีความน่าเชื่อถือ มีประวัติการทำงานที่โปร่งใส จริงใจกับผู้ติดตาม
สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีการค้นคว้าและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่หลอกลวงผู้ติดตาม
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ติดตาม ตอบคำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
3. การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience Reach)  
กลุ่มผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ควรสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบรนด์
พิจารณาจากข้อมูลประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ รายได้ การศึกษา ที่อยู่อาศัย ฯลฯ
ศึกษาจากรูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรม และความสนใจของผู้ติดตาม
4. ความสอดคล้องกับแบรนด์ (Brand Alignment)
อินฟลูเอนเซอร์ควรมีคุณค่า (Values) บุคลิกภาพ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับแบรนด์
สร้างความรู้สึกผูกพัน ให้ผู้บริโภคเกิดความไว้วางใจและรู้สึกเป็นกันเอง 
มองเห็นภาพการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการตรงกับสไตล์และบุคลิกของอินฟลูเอนเซอร์
5. ประสิทธิภาพการเข้าถึง (Engagement Rates)
พิจารณาอัตราการมีส่วนร่วมกับเนื้อหา เช่น การกดไลค์ แชร์ คอมเมนต์ ยอดผู้ชม เป็นต้น
อัตราการเปลี่ยนเป็นผู้ติดตามใหม่ และความภักดีของผู้ติดตามเดิม
การโต้ตอบและตอบสนองต่อเนื้อหาและกิจกรรมที่อินฟลูเอนเซอร์จัด
6. งบประมาณและความคุ้มค่า (Budget & ROI)  
เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์แต่ละราย
ประเมินผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ เช่น การเพิ่มขึ้นของยอดขาย การรับรู้และการจดจำแบรนด์
พิจารณาความคุ้มค่าในระยะยาว เนื่องจากการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จต้องใช้เวลา

หากคุณมีความต้องการทำงานในสายการตลาดดิจิทัลหรืออยากอัพสกิลเพิ่ม สามารถเรียนรู้ได้ผ่านคอร์สเรียนของ IDM Council ที่ได้รับการรับรองจากหลายสถาบัน เช่น European Qualifications Framework , Scottish Qualification Authority , International Board of Digital Marketing และอื่น ๆ อีกมากมาย ผู้เข้าเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรขั้นสูงซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

คอร์สเรียนยอดฮิต

คอร์สเรียน Advanced Digital Marketing Certificate

ก้าวสู่การเป็นนักการตลาดมืออาชีพด้วยหลักสูตรการตลาดดิจิทัลที่ได้รับมาตรฐานระดับสากล ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ด้วยตนเอง อัพเดทเทรนด์การตลาดใหม่ล่าสุด เหมาะสำหรับนักการตลาด ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนสายงาน บุคคลที่สนใจการตลาดดิจิทัลหรืออยากเป็นเจ้าของธุรกิจ จบคอร์สนี้คุณจะได้รับใบ Certificate เพื่อเปลี่ยนสายงานหรืออัพเงินเดือนเพิ่ม คอร์สเดียวจบ ครบทุกทักษะ อย่ารอช้า! สมัครเรียนได้แล้ววันนี้ทางลัดสู่นักการตลาดมืออาชีพ

คอร์สเรียน Strategic Digital Marketing and Business Transformation

การวางกลยุทธ์การตลาดที่ถูกต้องถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในองค์กร หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อเจ้าของธุรกิจ ผู้จัดการ นักวางกลยุทธ์หรือผู้ที่ต้องการเติบโตและมีมุมมองเดียวกันกับเจ้าของธุรกิจ เรียนรู้เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญด้วยการสอนแบบลงมือปฏิบัติจริง ท้าทายความคิดผ่านกรณีศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเอง หลักสูตรนี้จะช่วยให้คุณพร้อมนำพาองค์กรก้าวสู่ความสำเร็จบนเส้นทางดิจิทัลอย่างมั่นคง สมัครวันนี้ก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจในยุคดิจิทัล!

สรุป

การเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ คือตัวเลือกที่ดีอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับการตลาดดิจิทัลในปัจจุบัน เพราะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภค สร้างการรับรู้และความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ รวมถึงนำไปสู่การตัดสินใจซื้อในที่สุด